ป้องกันการเป็นกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง

6250
กรดไหลย้อน

รู้เท่าทันกรดไหลย้อน

บทความเกี่ยวกับสุขภาพวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของ และวิธีการป้องกัน และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะ “กรดไหลย้อน” ภาวะกรดไหลย้อนนั้นเกิดจากสารคัดหลั่ง เช่น น้ำย่อย กรด รวมไปถึงแก๊สที่อยู่ในกระเพาะอาหารมีการไหลย้อนกลับเข้าไปยังหลอดอาหาร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่ ให้ตรวจอาการที่เกิดขึ้นตามนี้ค่ะ

กรดไหลย้อนที่เกิดกับหลอดอาหาร จะมีอาการดังนี้

  1. จะรู้สึกเหมือนกับมีอาหารหรือน้ำไหลย้อนมาที่บริเวณลำคอและช่องปาก
  2. รู้สึกแสบร้อนช่วงกลางหน้าอก และบริเวณลิ้นปี่
  3. รู้สึกเปรี้ยวหรือขมคอและปาก

กรดไหลย้อนที่เกิดบริเวณนอกหลอดอาหาร จะมีอาการดังนี้

  1. มีอาการไอโดยที่ไม่มีสาเหตุแน่ชัด อาการไอแบบเรื้อรัง
  2. มีเสียงแหบ และมีอาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง
  3. เจ็บหรือจุกบริเวณช่วงหน้าอก ซึ่งไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน
  4. มีกลิ่นปาก
  5. เป็นโรคหืดประเภทที่รักษาแล้วไม่มีการตอบสนองที่ดีขึ้น

สาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน

จากข้อมูลด้านบนเป็นเพียงการวิเคราะห์เบื้องต้นว่าเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เป็นกรดไหลย้อนนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  • การรับประทานอาหารรสจัดอย่างต่อเนื่อง อาหารหมักดองทุกชนิด อาหารที่ย่อยยาก อย่างเช่น เนื้อสัตว์ รวมไปถึงการรับประทานอาหารมากจนเกินไปด้วย
  • การสูบบุหรี่
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท ชา กาแฟ รวมไปถึงน้ำอัดลมด้วยค่ะ
  • ช็อคโกแลต
  • ความเครียด

แนวทางการรักษา

การรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ การงดรับประทานอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคไหลย้อน งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักมากควรลดลดน้ำหนัก และข้อสำคัญคือไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ควรรับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง เวลานอนควรนอนยกหมอนสูง และสวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ ไม่ให้ร่างกายอึดอัด

สำหรับการรักษาอีกวิธีคือการรักษาโดยรับประทานยา ยาที่ใช้ในการรักษาจะมี 2 กลุ่มคือ PPI (Proton Pump Inhibitor) และ H2RA (H2 Receptor Antagonist) ซึ่งยาทั้งสองกลุ่มนี้เป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนบ่อยๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการกรดไหลย้อนบ่อย หรือนานๆ เป็นครั้งจะใช้ยา Alum Milk เพื่อระงับอาการ ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อความปลอดภัยหากพบว่ามีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อนควรพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงทีนะคะ หากทิ้งไว้นานหรือเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในหลอดอาหารได้ค่ะ