Gender dysphoria ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศของตนเอง

1268
Gender dysphoria

Gender dysphoria ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศของตนเอง

โดย นพ. ธนคม ใหลสกุล ศัลยแพทย์ตกแต่ง

ในทางเพศศึกษา จะมีคำศัพท์อยู่ 3 คำที่สำคัญ

1. Sex คือเพศที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
2. gender คือการรับรู้เพศของตนเอง
3. Sex orientation คือ รสนิยมทางเพศ

ถ้าการรับรู้ เพศของตนเอง ตรงกันข้าม กับเพศที่มีมาตั้งแต่กำเนิด จะเกิดความขัดแย้งขึ้นในจิตใจของคนคนนั้น จนทำให้เกิด ความทุกข์ ไม่พึงพอใจในเพศ ของตนเอง เราจึงเรียกว่า gender dysphoria

ผู้ที่จะถูกวินิจฉัย ว่าเป็น ภาวะ gender dysphoria จะมีลักษณะ สำคัญ 3 ประการ
1. ไม่พึงพอใจ หรือมีความทุกข์ ในเพศที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ของตัวเอง หรือบทบาทที่ต้องทำ
ตามเพศนั้น
2. มีความต้องการ ที่อยากจะเป็นเพศตรงข้าม
3. เอาแบบอย่าง ของเพศตรงข้าม อย่างชัดเจน และเป็นอยู่ตลอดเวลา

สาเหตุ
1. พันธุกรรม
2. สาเหตุทางชีวภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกาย จากความผิดปกติภายใน หรือปัจจัยภายนอก
3. สภาวะทางสังคม และการเลี้ยงดู ในวัยเด็ก

เด็กสามารถ รับรู้เพศของตนเอง เมื่ออายุได้ ประมาณ 3 ขวบ ดังนั้น ภาวะ gender dysphoria จึงเริ่มเกิดขึ้นในวัยนี้ เด็กวัยนี้อาจมีพฤติกรรมและมีความชอบแบบเพศตรงข้าม ตัวเองได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นความผิดปกตินี้จะหายไปในเด็กส่วนใหญ่ ยกเว้นในเด็กส่วนน้อย ที่มีภาวะนี้จริงๆ ภาวะนี้จะดำรงอยู่ต่อไป จนกระทั่งเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และก็จะอยู่ในภาวะนี้ไปตลอดชีวิต

การรักษา
ถ้าพบ เด็กที่มีพฤติกรรมไปทางเพศตรงข้าม สามารถรักษาให้กลับมาเป็นเพศเดิมตามเพศธรรมชาติได้ โดยมีวิธีการรักษาหลายแบบพร้อมๆกัน เช่น ครอบครัวบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม

แต่ในเด็กที่มีภาวะนี้จริงๆ มักจะรักษา เพื่อให้กลับมาเป็นเพศตามเพศธรรมชาติไม่สำเร็จ การรักษาจึงเน้นไป เพื่อให้ ผู้ที่มีสภาวะนี้ ลดความเครียด ความทุกข์ลง และสามารถ ปรับตัว เข้าอยู่ในสังคม และครอบครัวได้ อย่างมีความสุข

จนเมื่อเด็กกลุ่มนี้กลายเป็นผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีขึ้นไป จะสามารถพิจารณาทำการผ่าตัด เพื่อแปลงเพศไปเป็นเพศที่ต้องการได้

หลักเกณฑ์ในการผ่าตัด แปลงเพศ
1. ผู้นั้นจะต้องดำรงชีวิต ในสังคม ด้วย การเป็นเพศตรงข้าม หรือเพศที่ต้องการเป็น สำเร็จอย่างน้อย 1 ปี
2. ต้องได้รับการวินิจฉัย จากจิตแพทย์ อย่างน้อย 2 ท่าน มีสภาวะนี้จริง จิตแพทย์ 1 ใน 2 นั้น ต้องเป็น ผู้เชี่ยวชาญ ด้านนี้โดยตรง
3. ต้องได้รับการรักษา โดยฮอร์โมน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการผ่าตัดเป็นเพศตรงข้าม อย่างน้อย 1 ปี

กลุ่มคนที่เป็น gender dysphoria พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น โดยชายที่ต้องการเป็นหญิงมีอุบัติการณ์ ประมาณ1ใน 30,000 และ หญิงที่ต้องการเป็นชาย พบอุบัติการณ์ประมาณ 1 ต่อ 100,000
จะเห็นได้ว่า คนที่เป็น gender dysphoria female to Male พบน้อยกว่า Male to female ประมาณ 3 เท่า
การผ่าตัด sex reassignment surgery หรือ sex Change เป็นการรักษา gender dysphoria ในกลุ่มคนไข้ที่ต้องการข้ามเพศ(transgender) แบบที่ได้ผลการรักษา แน่นอน หายขาด คนไข้จะมีความสุข หลังการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างการผ่าตัด SRS กรณี Male to female
เช่น Breast augmentation ,
Clitoroplasty (creation of clitoris)
Labiaplasty (creation of labia)
Orchiectomy (removal of testicles)
Penectomy (removal of penis)
Urethroplasty (reconstruction of female urethra)
Vaginoplasty (creation of vagina) เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย ผ่าตัดที่นิยม ได้แก่ งานเสริมหน้าอก การผ่าตัดแปลงเพศ

ตัวอย่างการผ่าตัด S R S กรณี female to Male เช่น

Bilateral mastectomy or breast reduction
Hysterectomy (removal of uterus)
Metoidioplasty (creation of penis, using clitoris)
Penile prosthesis
Phalloplasty (creation of penis)
Salpingo-oophorectomy (removal of fallopian tubes and ovaries)
Scrotoplasty (creation of scrotum)
Testicular prostheses
Urethroplasty (reconstruction of male urethra)
Vaginectomy (removal of vagina) เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย การผ่าตัดที่นิยม ได้แก่ การตัดเต้านม
สำหรับกรณี female to Male นั้น คนไข้ส่วนใหญ่ นิยมทำแค่ ตัดเต้านม จะมีส่วนน้อย ที่ทำผ่าตัดแปลงเพศ เป็นเพศชาย เนื่องจาก การผ่าตัดที่ซับซ้อนอาจจะต้องทำหลายครั้ง ภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างสูง ผลการผ่าตัดที่ดีอยู่ในระดับหนึ่ง

การผ่าตัดเต้านม กรณี female to Male มีวิธีการทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับ ขนาดและรูปร่างเต้านม ของคนไข้ แบ่ง กลุ่มคนไข้ ลักษณะเต้านมได้ 4 แบบ
1. เต้านมขนาดเล็ก มีผิวหนังเนื้อเต้านมตึง
2. เต้านมขนาดกลาง ผิวหนังและที่เต้านมตึง
3. เต้านมขนาดใหญ่ มีผิวหนังและเนื้อเต้านมตึง
4. เต้านมที่มีลักษณะ ผิวหนังหย่อนยาน เนื้อเต้านม ห้อยย้อย
ลักษณะเต้านม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการผ่าตัด และ แผลผ่าตัด เช่น
ท่าเต้านมขนาดเล็ก ก็สามารถลงแผลผ่าตัด รอบปานนม แล้วตัดนมออกได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับเต้านมขนาดกลาง แต่ถ้าเต้านมขนาดใหญ่อาจต้องลงแผลผ่าตัดใต้ราวนม กรณีเต้านมหย่อนคล้อย ต้องพิจารณาตัดเนื้อเต้านม และ ตัดแปะเนื้อหัวนมแบบ nipple graft

คนไข้ในตัวอย่างที่ยกมา มีขนาดเต้านมปานกลาง เนื้อเต้านมและผิวหนังตึงดี จึงลงแผลรอบปานนม และสามารถตัดเนื้อเต้านมได้ทั้งหมด

โดยสรุป จะเห็นได้ว่า คนไข้กลุ่ม gender dysphoria มีมากขึ้นในปัจจุบัน และมากขึ้นเรื่อยๆ มีการยอมรับ ในทางสังคม มากขึ้น และในทางกฎหมายก็เป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ การดูแลรักษา คนไข้กลุ่มนี้ อย่างเข้าใจ ถูกต้อง ถูกวิธี จะทำให้ คนไข้ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม มีความสุขในการดำรงชีวิต ในครอบครัวและสังคม ช่วยเป็นกำลังในการ พัฒนาประเทศ เป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศ ได้ในอนาคตต่อไป

ตัวอย่างคนไข้
รายแรก เนื้อเต้านมขนาดปานกลาง หัวนมขนาดใหญ่ ใช้การลงแผลที่ปานนมด้านล่าง ตัดเนื้อเต้านมได้ทั้งหมด และตัดลดขนาดหัวนมไปพร้อมกัน

รายที่สอง เนื้อเต้านมใหญ่กว่ารายแรก แต่ปานนมและหัวนมเล็กกว่าพอสมควร ลงแผลรอบปานนมจะไดัแผลเล็ก ตัดเต้านมยากขึ้นแต่ก็สามารถตัดได้ทั้งหมด

หลังผ่าตัดต้องใส่เสื้อรัดหน้าอก1-2เดือน ถ้ามีการออกกำลังกาย รวมทั่งรับฮอร์โมนเพศชายตามกำหนด ก็จะสามารถสร้างกล้ามเนื้อได้เหมือนผู้ชาย

ติดต่อสอบถาม หรือขอคำปรึกษาฟรีได้ที่ เอเม่คลินิก www.aimeclinic.com

retina logo mobileCall : 083-461-5666
Line : @aime_clinic
www.facebook.com/aimeclinic